ความเป็นมาของโครงการ
ในฤดูร้อนเกือบทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จแปรพระราช ฐานไปประทับแรม ณ วังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในระยะแรกเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟ ต่อมา เสด็จฯโดยรถยนต์เมื่อเสด็จฯผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี สองข้างทางมีต้นยางขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มาก ทรงมี พระราชดำริที่จะสงวนป่าต้นยางนี้ไว้เป็นสวนสาธารณะ ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แต่ไม่สามารถจัดถวายได้ ตามพระราชประสงค์ เพราะมีราษฎรเข้ามาทำไร่ทำสวนในบริเวณนั้นมาก ทำให้ต้องจ่ายเงินทดแทนในการหาที่ใหม่ ในอัตราที่ไม่สามารถจัดได้เมื่อไม่สามารถดำเนินการปกปักต้นยางนาที่อำเภอท่ายางได้ จึงทรงทดลองปลูกต้นยาง เอง โดยทรงเพาะเมล็ดยางที่เก็บจากต้นยางนาในเขตอำเภอท่ายาง ในกระถางบนตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกต้นยางนาเหล่านั้นในแปลงทดลองใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา พร้อมข้าราชบริพาร เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2504 จำนวน 1 , 250 ต้นแม้ต้นยางที่ท่ายางสูญสิ้น แต่พันธุกรรมของยางนาเหล่านั้นยัง อนุรักษ์ไว้ที่สวนจิตรดาเพื่อให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้ของนิสิตนักศึกษาแทนที่จะต้องเดินทางไปทั่วประเทศ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงสืบต่อ งานอนุรักษ์พันธุกรรมพืช พ.ศ. 2535 ทรงเริ่มโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยาม บรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริกับนาย แก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วน พระองค์ฯสวนจิตรลดา เมื่อเดือน มิถุนายม พ.ศ.2535 ให้ดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ โดยพระราชทาน ให้ฝ่ายวิชาการโครงการส่วน พระองค์ฯ สวนจิตรดา เป็นผู้ดำเนินการสำหรับงบประมาณในการดำเนินงานนั้นสำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้สนับสนุนให้กับ โครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยจัดสร้างธนาคารพืชพรรณ ขึ้นในปี พ.ศ.2536 เพื่อการเก็บรักษาพันธุกรรมพืชที่เป็นเมล็ดและเนื้อเยื่อและสนับ สนุนงบประมาณดำเนินงาน ในทุกๆกิจกรรมของโครงการ
สำหรับองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปภัมภ์ นั้นได้เข้าร่วมสนองพระ ราชดำริในโครงการอนุรักพันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในปี พ.ศ.2541 ได้ดำเนินการสนองพระราชดำริในกิจกรรมต่างๆจำนวน 6 กิจกรรมจาก 8 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมปกปักษ์ทรัพยากร กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร ศูนย์ข้อมูลทรัพยากร กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร รวมไปถึงการอนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ เช่นแย้ และ ผีเสื้อนานาชนิด
ขอเชิญส่งบทความตีพิมพ์ในหนังสือ จากยอดเขา ถึง ทะเลใต้ 9