ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 1 เมตร ลําต้นคล้ายทรงกระบอก มีริ้ว เกือบเกลี้ยง ก้าน ใบยาว 0.3-2 เซนติเมตร รูปเคียว มีสองแถว มีขนสั้นนุ่ม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบ หอกแกมรูปไข่ รูปใบหอก หรือรูปแถบแกมรูปใบหอก กว้าง 1-4 เซนติเมตร ยาว 7-12 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้านเมื่อยังอ่อนอยู่ เปลี่ยนเป็นเกือบเกลี้ยง ยกเว้นที่ไกล แกนมีขนยาวห่างที่เส้นใบ เส้นแขนงใบด้านละ 4-6 เส้นในแต่ละด้านของเส้นกลางใบ โคนใบรูปลิ่มถึงกลม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเกือบเรียบถึงเว้าเป็นคลื่นหยักมน ดอกช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง รวมเป็นช่อแยกแขนง ใบประดับและใบประดับย่อยรูป แถบ ปลายแหลม พูวงกลีบเลี้ยงรูปแถบ ด้านนอกมีต่อมที่มีขนยาวห่างที่ปลายยอด ปลายแหลม วงกลีบดอกสีแดงเข้ม โคนกลีบสีเขียว ยาว 3-4.2 เซนติเมตร ด้านนอกมี ต่อมที่มีขนยาวห่างที่ปลายยอด ด้านในเกลี้ยง ยกเว้นที่วงแหวนของขน หลอดดอกรูป ทรงกระบอก กลีบล่างมีแถบสีเหลือง กลีบบนรูปสามเหลี่ยม ตั้ง ปลายกลีบเว้าตื้น พู รูปไข่ เกสรเพศผู้เชื่อมติดที่วงกลีบดอก ก้านชูอับเรณูเกลี้ยง อับเรณูรูปไข่แกมรูปแถบ ทู่ ก้านเกสรเพศเมียมีขนสั้นนุ่มประปราย ผลแห้งแตก มีขนยาวห่าง

การใช้ประโยชน์ :

บัญชียาหลักแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2554 ใช้เป็นยาพญายอ เพื่อ บรรเทาอาการของ เริมและงูสวัด รักษาแผลในปาก แผลจากการฉายรังสีและเคมี บําบัด บรรเทาอาการ ผดผื่นคัน ลมพิษ ตุ่มคันบรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมจาก แมลงกัดต่อย แบบยาครีม ยาโลชัน สารละลาย (สําหรับป้ายปาก) ยาโลชัน สารละลาย (สําหรับป้ายปาก) ยาขี้ผึ้ง ทิงเจอร์ ยาสามัญประจําบ้านแผนโบราณ พ.ศ. 2556 ใช้เป็นยาบรรเทาหัด อีสุกอีใส ยาทาบรรเทาอาการแมลงกัดต่อย (ยาสําหรับใช้ ภายนอก)

ส่วนที่นำมาใช้ :

-รากและเปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง -ทั้งต้นและใบใช้กินเป็นยาถอนพิษไข้ ดับพิษร้อนใช้เป็นยาลดไข้ ด้วยการใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำซาวข้าว ใช้พอกบนศีรษะคนไข้ประมาณ 30 นาที อาการไข้และอาการปวดศีรษะจะหายไป -ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ ด้วยการนำใบสดมาเคี้ยวประมาณ 10 ใบ กลืนเอาแต่น้ำยาพอให้ยาจืด แล้วจึงคายกากทิ้ง

การขยายพันธุ์ :

นิยมขยายพันธุ์โดยการปักชำ

การกระจายพันธุ์ :

มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในประเทศไทยมักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของประเทศ หรือพบปลูกกันตามบ้านทั่วไป

ช่วงเวลามีดอกและผล :

ออกดอก ตุลาคม-มกราคม ออกผล มีนาคม-มิถุนายน

ข้อควรระวัง :

แม้ในอดีตจะมีการใช้ใบสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นแผล แต่ในปัจจุบันวิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมแล้ว เพราะจะทำความสะอาดได้ยาก ทำให้กากติดแผล และอาจทำให้ติดเชื้อเป็นหนองได้

อนุกรมวิธาน

FAMILY : ACANTHACEAE

a