ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือเป็นพุ่มกลม โปร่ง เปลือกนอกสีเทาดำ เรียบ แตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ มีรูระบายอากาศสีน้ำตาลทั่วไป เปลือกในสีขาว มีหนามยาวๆ อยู่ประปรายตามลำต้นหรือกิ่งไม้ ใบ ใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับกัน ใบย่อยรูปหอกปลายและโคนแหลม ขนาดไม่โตมากมีลักษณะคล้ายกับผักหวาน ท้องใบมีขนสั้นนุ่ม ดอก ขนาดเล็ก สีขาวหรือสีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามซอกใบค่อนไปทางปลายกิ่งมีพิษกินเข้าไปตายได้ ผล เมื่อแก่จัดจะมีสีเหลือง ผลแห้งมีปีกยาว 3 ปีก เรียงตามยาว เมล็ดกว้าง 1-2 ซ.ม. สีนำตาลอ่อน เมล็ดรูปไข่

การใช้ประโยชน์ :

เปลือกต้น รสขมเย็น แก้ไข้ตัวร้อน แก้หวัดคัดจมูก น้ำมูกไหล ใช้สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วใส่น้ำตีให้เป็นฟองแล้วใช้ฟองนั้นสุมหัวเด็ก ใช้รักษาอาการหวัดคัดจมูก แก้ชันนะตุ ฟองที่ได้มาจากเปลือกนั้น ยังสามารถนำมาล้างเครื่องเพชรได้เช่น มะคำดีควาย ใช้ซักผ้าแทนสบู่ ใบ แก้ไข้ตัวร้อน ด่างไม้ แก้โรคกระษัย แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ขับมุตกิต

ส่วนที่นำมาใช้ :

ใบ เปลือกต้น ด่างไม้

การขยายพันธุ์ :

การเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

การกระจายพันธุ์ :

พบในป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง

ช่วงเวลามีดอกและผล :

ออกดอกในช่วงประมาณพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม

ข้อควรระวัง :

ดอกมีพิษถ้ากินเข้าไปจะทำให้ตายได้

อนุกรมวิธาน

FAMILY : SAPINDACEAE

a