ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 10 – 20 เมตร แผ่พุ่มกว้างคล้ายร่ม เป็นแบบขนนกสองชั้นออกสลับ เปลือกต้นสีดำเป็นเกล็ดโตแข็งสีเขียวเข้ม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกคล้ายใบแค ปลายใบมนแกนกลางใบประกอบและก้านใบประกอบแยกแขนงตรงข้ามกัน บนแขนงมีใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี หรือคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบเกลี้ยง ออกดอกเป็นรวมเป็นกระจุก สีชมพูอ่อน โคนดอกสีขาว ออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง วงนอกช่อดอกมีขนาดเล็กกว่าดอกวงใน ดอกวงนอกมีก้านสั้น ดอกวงใยไม่มีก้าน ส่วนบนมีขนหนาแน่น ปลายหลอดกลีบดอกแยกเป็น 5 แฉก ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักแบนยาว ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาล เนื้อในนิ่มสีดำ รสหวาน เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม

ถิ่นกำเนิด :

อเมริกาใต้เขตร้อน

การใช้ประโยชน์ :

ต้นใช้เลี้ยงครั่ง ลายไม้สวยใช้ทำเครื่องเรือน บุผนัง แกะสลัก ใบใช้หมักทำปุ๋ย ฝักแก่สามารถนำมาใช้เป็นอาหารให้แก่วัว หรือควายได้ เปลือกต้น ป่นให้ละเอียด ใช้เป็นยาสมานรักษาแผล เปลือกต้นและเมล็ด ใช้รักษาอาการท้องบิด ท้องเสีย ใบ รสเมทเย็น สรรพคุณเย็น ด้านพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน เมล็ด รสฝาดเมา แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เรื้อน แก้เยื่อตาอักเสบ

ส่วนที่นำมาใช้ :

เนื้อไม้ ใบ เปลือกต้น เมล็ด

การขยายพันธุ์ :

การเพาะเมล็ด

การกระจายพันธุ์ :

เขตร้อนทั่วโลก

ช่วงเวลามีดอกและผล :

ออกดอก สิงหาคม - กุมภาพันธ์

ข้อควรระวัง :

เมื่อรับประทานเมล็ด หรือน้ำยางเข้าไป จะทำให้เยื่อบุผนังกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ มีอาการอาเจียนและถ่ายอย่างรุนแรง

อนุกรมวิธาน

FAMILY : LEGUMINOSAE

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 07 มิถุนายน 2563

a