ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ไม้ต้น แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ กิ่งก้านคดงอ เปลือกต้นบาง ขรุขระเล็กน้อย สีเทาอมเขียว มียางสีขาวข้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียน รูปรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียว สากมือ เนื้อใบหนาค่อนข้างกรอบ ดอก ออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ ดอกย่อยเล็กมาก ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้รวมกันเป็นช่อกลม ก้านดอกสั้น ดอกเพศเมียช่อหนึ่งมีดอกย่อย 2 ดอก ก้านดอกยาว ผล รูปทรงกลม ผลมีเนื้อ ผนังผลชั้นในแข็ง เมื่ออ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองใส เมล็ดเดี่ยว แข็ง กลม

ถิ่นกำเนิด :

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การใช้ประโยชน์ :

กิ่งสด ทำให้ฟันทน ไม่ปวดฟัน ฟันแข็งแรง ไม่ผุ เปลือก แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไข้ ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ เปลือกต้น แก้ริดสีดวงจมูก เมล็ด ฆ่าเชื้อในช่องปาก และทางเดินอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ รากเปลือก เป็นยาบำรุงหัวใจ

ส่วนที่นำมาใช้ :

กิ่งสด เปลือก เปลือกต้น เมล็ด ราก ใบ

การขยายพันธุ์ :

การเพาะเมล็ด ปักชำ

การกระจายพันธุ์ :

พบทั่วไปในที่ราบ ในป่าเบญจพรรณแล้งจนถึงป่าดิบแล้งทั่วไป ที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ปานกลาง 20-600 เมตร

ช่วงเวลามีดอกและผล :

วลาออกดอก มกราคม-กุมภาพันธ์. เวลาติดผล กุมภาพันธ์-เมษายน

ข้อควรระวัง :

ไม่รับประทานมาก และต่อเนื่องกัน เนื่องจากข่อยมีสารพิษที่มีผลข้างเคียงกับการทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจ และความดันเลือด

อนุกรมวิธาน

FAMILY : MORACEAE

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2563

a