"วันแรดโลก (WORLD RHINO DAY)" 22 กันยายน

จำนวนประชากรแรดที่ลดลง จนใกล้สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ ถือได้ว่าเกิดจากฝีมือล่าของมนุษย์ ที่นำชิ้นส่วนอวัยวะของแรดไปใช้ประโยชน์ส่วนตน โดยเฉพาะ นอแรดที่เชื่อว่าเป็นยา และส่วนหนึ่งนำไปเป็นเครื่องประดับ
แรด" ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ป่าสงวนขึ้นบัญชีหมายเลข 1 ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ปัจจุบันการล่าแรดก็ทำให้แรดสูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทย ในอดีตเคยพบแรดที่ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และแรดตัวสุดท้ายในละแวกนี้ที่พบคือ "แรดชวา” ที่ถูกสังหารในปี พ.ศ. 2553 ที่ประเทศเวียดนาม
จำนวนแรดที่เหลือทั่วโลก มีอยู่ราว 30,000 ตัว โดยส่วนใหญ่เป็นแรดขาว รองลงมาคือ แรดดำ และแรดอินเดียองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ประจำประเทศไทย หรือ WWF รายงานการพบแรดไว้ดังนี้
แรดอินเดีย 3,300 ตัว
แรดดำ 5,000 ตัว
แรดขาว 20,400 ตัว
แรดชวา 44 ตัว
แรดเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่รองจากช้าง มีลำตัวขนาดใหญ่ ขาใหญ่สั้นและมีเล็บเท้าข้างละ 3 นิ้ว มีสันของกล้ามเนื้อด้านบนของคอ ที่เป็นกล้ามเนื้อที่จะรองรับหัวที่มีขนาดใหญ่
กินหญ้าเป็นส่วนใหญ่ และกินพุ่มไม้เตี้ย ๆ มากกว่าใบไม้
อายุขัยเฉลี่ยประมาณ 46 - 50 ปี
สำหรับองค์การสวนสัตว์แห่งปีะเทศไทย มีแรดสายพันธุ์อินเดียหนึ่งเดียวในประเทศไทย อายุ 34 ปี ชื่อว่า "กาลิ”
"กาลิ” เป็นแรดดำอินเดียที่พระราชาธิบดีแห่งประเทศเนปาล น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ ทรงพระราชทานให้กับองค์การสวนสัตว์ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2529 ก่อนจะถูกส่งมาดูแลที่สวนสัตว์เชียงใหม่ โดยขณะนั้นกาลิมีอายุเพียง 1 ปี 2 เดือน และ มีน้ำหนักตัว 375 กิโลกรัม
ปัจจุบันกาลิ ในวัย 34 ปี ถือว่าอยู่ในวัยชรา เนื่องจากตามธรรมชาติแรดอินเดียจะมีอายุเฉลี่ยสูงสุดที่ 40 ปี แต่สำหรับกาลิได้รับการดูแลอย่างดี จึงมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและอายุยืน ที่ผ่านมาสวนสัตว์เชียงใหม่พยายามเพาะขยายพันธุ์ เพราะแรดเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ อยู่ในบัญชีไซเตส 1 และ ขณะนี้ก็เหลือเพียงตัวเดียวในประเทศไทย แต่เนื่องจากกาลิมีอายุมากแล้วจึงไม่สามารถมีลูกได้อีก
เพื่อให้ประชาชนที่ชื่นชอบสวนสัตว์ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้มีส่วนร่วมในการอุปถัมภ์สัตว์ชนิดต่างๆ ที่อยู่ในความดูแลของสวนสัตว์ทั่วประเทศ ซึ่งมีจำนวนกว่า 10,000 ตัว มากกว่า 2,000 ชนิด ผ่านการทำบุญบริจาคเงินเข้าสมทบเข้ากองทุน โดยองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย จะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายด้านอาหารสัตว์ เวชภัณฑ์ต่างๆ ในการรักษาสัตว์ รวมถึงอุปกรณ์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตสัตว์ของสัตว์ป่าในสวนสัตว์ต่อไป จึงขอเชิญชวนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมแบ่งปันน้ำใจอุปถัมภ์สัตว์ป่า ด้วยการบริจาคทุนทรัพย์ โดยสามารถเลือกประเภทกลุ่มสัตว์ที่ต้องการอุปถัมภ์ได้ 5 กลุ่มคือ กลุ่มสัตว์ขนาดใหญ่ กลุ่มสัตว์ขนาดกลาง กลุ่มสัตว์ขนาดเล็ก กลุ่มสัตว์ปีก และกลุ่มตามอัธยาศัย
ผู้ที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านช่องทางPage Facebook และ www.zoothailand.org. ขององค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยและโอนเงินบริจาคได้ที่ บัญชีธนาคารกรุงไทยหมายเลขบัญชี 006-0-23655-8 ชื่อบัญชี กองทุนเพื่อหมีแพนด้า ซึ่งเป็นกองทุนสาธารณกุศล ผู้บริจาคจะได้รับใบประกาศเกียรติคุณออนไลน์ และสามารถนำใบเสร็จรับเงินจากองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยไปลดหย่อนภาษีได้
ข้อมูลการบริจาคช่วยเหลือสัตว์ป่าและสอบถามรายละเอียดได้ที่
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว โทร. 038 318 444www.facebook.com/kkopenzoo
สวนสัตว์เชียงใหม่ โทร. 053 221 179www.facebook.com/FanpageChaingMaiZoo
สวนสัตว์นครราชสีมา โทร. 083 372 0404www.facebook.com/NakhonratchasimaZoo
สวนสัตว์สงขลา โทร. 074 598 555www.facebook.com/SongkhlaZooPage
สวนสัตว์อุบลราชธานี โทร. 093 320 9369www.facebook.com/ubonzoo1217
สวนสัตว์ขอนแก่น โทร. 086 459 4192www.facebook.com/khonkaenzoo
โครงการคชอาณาจักร จังหวัดสุรินทร์ โทร. 044 558 501www.facebook.com/ElephantKingdomByZPO