ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค้างคาว และ COVID-19
ในความพยายามที่จะลดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ปัจจุบันมีชุมชนและหน่วยงานรัฐในหลายภูมิภาค กำจัดค้างคาวด้วยความเข้าใจผิดเพื่อที่จะต่อสู่กับโรคนี้
เลขาธิการการอนุรักษ์สัตว์ป่าอพยพ (Convention on Conversation of Migratory Species of Wild Animals (CMS) ข้อตกลงการอนุรักษ์ประชากรค้างคาวในยุโรป (EUROBATS) ข้อตกลงการอนุรักษ์นกน้ำในแอฟริกาและยุโรป ได้ออกประกาศในวันที่ 8 เมษายน 2563 เรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจถึงสถานการณ์คับขันนี้เพื่อที่จะช่วยกันเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยผู้เชี่ยวชาญด้านค้างคาวได้ออกมาระบุประเด็น ดังนี้
1. ค้างคาวไม่ได้เป็นตัวการแพร่โรค COVID-19 การถ่ายทอดโรคเกิดจากคน สู่คน
2. ยังไม่มีข้อมูลชี้ชัดว่าค้างคาวถ่ายทอดเชื้อสู่คนโดยตรง ในการศึกษาเกี่ยวกับที่มาของโรคอาจจะเกี่ยวข้องกับค้างคาวแต่น่าจะมีการถ่ายทอดผ่านสัตว์ตัวกลาง
3. มีค้างคาวประมาณ 1,400 ชนิดอาศัยในป่าทั่วโลก ซึ่งมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในชุมชน อาศัยในสวนหลังบ้าน สวนสาธารณะ ใต้สะพาน ซึ่งไม่คุกคามความเป็นอยู่ของมนุษย์
4. ค้างคาวมีประโยชน์มากมายมหาศาลในการผสมเกสร กระจายเมล็ดพันธุ์ และควบคุมสัตว์พาหะนำโรค สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากมายต่อปี
5. ค้างคาวหลายชนิถูกคุกคามและต้องการความช่วยเหลือจากคน โดย CMS และ EUROBATS มีบทบาทในการอนุรักษ์ค้างคาวหลายสิบชนิด ซึ่งต้องการความร่วมมือของหลายหน่วยงานเพื่อช่วยให้ค้างคาวดำรงอยู่ได้ต่อไป การทำลายค้างคาวไม่ได้ช่วยลดการระบาดของ COVID-19 แต่จะมีผลกระทบต่อสถานการณ์อนุรักษ์และประชากรของค้างคาว
6. การจัดการที่ไม่ถูกต้องดังตัวอย่างการระบาดไข้หวัดนก ที่ผ่านมาในปี 2016 ด้วยการกำจัดนกอพยพจำนวนมากมายและการระบายน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำในธรรมชาติออก
แปลโดย สพ.ญ.ดร. อัมพิกา ทองภักดี
หัวหน้าฝ่ายวิจัย สำนักอนุรักษ์และวิจัย
องค์การสวนสัตว์
เอกสารแนบ | ดาวน์โหลด |
---|---|
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค้างคาว และ COVID-19 | คลิก |