การประเมินสถานภาพด้านสุขภาพและความหลากหลายทางพันธุกรรมของกวางผาในสภาพการเพาะเลี้ยงของประเทศไทย
การศึกษาเพื่อประเมินสถานภาพด้านสุขภาพและความหลากหลายทางพันธุกรรรมของกวางผา ในกรงเลี้ยง ได้ดำเนินการศึกษาตั้งแต่ เดือน มิถุนายน 2553 – มิถุนายน 2554 โดยได้ทำการศึกษาในกวางผาจำนวน 70 ตัว ดำเนินการจับบังคับเพื่อเก็บ ตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดดำบริเวณคอ (Jugular vein) เก็บในหลอดเก็บเลือดที่มีสารป้องกันการแข็งตัวของเลือด EDTA เพื่อตรวจค่าทางโลหิตวิทยาและในหลอด เก็บเลือดที่ไม่มีสารป้องกันการแข็งตัวเพื่อปั่นเอาซีรั่ม
สำหรับตรวจค่าทางเคมีโลหิต ตรวจวิเคราะห์โดยใช้ เครื่องตรวจเลือดอัตโนมัติ HM5 และ VetScan (Abaxial, USA) ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลและเปรียบ เทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยวิธี one way ANOVA ในโปรแกรม SPSS (IBM SPSS, Armonk, New York, USA) จัดทำฐานข้อมูลค่าโลหิตวิทยาและเคมีโลหิตของกวางผาโดยแบ่งเป็นกลุ่มตามเพศและ อายุ ผลการศึกษาพบว่าค่าทางโลหิตวิทยาและเคมีโลหิตของกวางผาในช่วงอายุต่างกันมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญและในระหว่างเพศมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญในค่า RDW, ALT และ Glucose การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมได้ตรวจวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอ ไทด์บริเวณ cytochrom b และ D-loop ของไมโตคอนเดรียลดีเอ็นเอเพื่อหาความหลากหลายของประชากร จากสายแม่ในกวางผาจำนวน ๒๓ ตัวซึ่งคัดเลือกจากพันธุ์ประวัติ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มประชากรกวาง ผาในสภาพการเพาะเลี้ยงของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อยไม่มีความแตกต่างทางพันธุกรรมในสายแม่ ดังนั้น การศึกษาเพื่อพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลไมโครแซทเทิลไลท์ หรือ การหาความหลากหลายในสาย พ่อจากโครโมโซมวาย จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาต่อไป เพื่อให้ทราบข้อมูลด้านความหลากหลายทาง พันธุกรรมของกลุ่มประชากรได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการวางแผนเพื่อจัด การเพื่อคงความหลากหลายทางพันธุกรรมของกลุ่มประชากรกวางผาในสภาพการเพาะเลี้ยงของประเทศ ไทยต่อไป
เอกสารแนบ |
ดาวน์โหลด |
เอกสารแนบ | คลิก |