การศึกษาพันธุศาสตร์ของกลุ่มชะนีแก้มขาวในสภาพกรงเลี้ยงประเทศไทย

          ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนและมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ทำให้เกิดความซับซ้อนทางชีวภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย แต่ในสภาวะปัจจุบันสัตว์ป่าถูกคุกคามจากภัยธรรมชาติ การถูกล่าจากผู้ล่าในธรรมชาติและมนุษย์ยังทำลายป่า จนบางชนิดได้สูญพันธุ์ไป และอีกหลายชนิดอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งรวมถึง "ชะนีที่ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นเสียงเรียกขานจากป่าที่อุดมสมบูรณ์” ด้วย เนื่องจากชะนีอาศัยอยู่บนป่าดิบชื้น หรือผืนป่าที่ยังไม่มีการบุกรุก มียอดไม้ต่อกัน ดังนั้นเราจึงไม่สามารถพบชะนีได้ในป่าผืนเล็กที่มีถนนตัดผ่านหรือสิ่งก่อสร้างขวางอยู่
 
         ชะนีจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอยู่ในวงศ์ (Family) Hylobatidae สกุล (Genus) Hylobatesชะนีกระจายพันธุ์อยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีทั้งหมด 4 สกุลย่อย (Subgenus) 12 ชนิด (Species) (Geissmann, 2002b) สำหรับในประเทศไทยตามธรรมชาติพบ 3 สกุลย่อย 5 ชนิด ได้แก่สกุลย่อย Hylobates 3 ชนิด สกุลย่อย Symphalangus มีอยู่เพียงชนิดเดียวคือ ชะนีเซียมัง (Siamang, S. Syndactylus) (ประทีป, 2541) และชะนีสกุลย่อยสุดท้ายคือสกุลย่อย Nomascus มีเพียงชนิดเดียวซึ่งมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับชนิดที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยว่าเป็นชนิดใด สำหรับในสภาพกรงเลี้ยงในองค์การสวนสัตว์นั้นเช่นเดียวกันคือยังไม่สามารถระบุได้ว่ามีชะนีแก้มขาวชนิดใดบ้าง เนื่องจากลักษณะภายนอกของชะนีสกุลย่อยนี้มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก ซึ่งหากแยกชนิดผิดจะส่งผลกระทบอย่างมากในการจัดการประชากร เพื่อใช้ในการวางแผนการเพาะขยายพันธุ์ (สุเมธและคณะ, 2549)


เอกสารแนบ ดาวน์โหลด
เอกสารแนบ คลิก