การประเมินสภาวะการทำงานของต่อมฮอร์โมนเพศในกลุ่มแรดขาวเพศเมียของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว โดยวิธีการศึกษาแบบไม่จับบังคับหรือรบกวนตัวสัตว์ ด้วยการตรวจวิเคราะห์ปริมาณฮอร์โมน
ปัจจุบัน แรดขาวและแรดชนิดอื่นๆ เป็นสัตว์ที่มีจำนวนเหลืออยู่ในธรรมชาติไม่มากนักอีกทั้งอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากถูกล่าอย่างหนัก แรดในธรรมชาติจึงอยู่ในภาวะอันตรายถึงแม้ในปัจจุบันผลจากการดำเนินการต่างๆ เพื่อป้องกันการลักลอบล่าสัตว์จะส่งผลให้จำนวนประชากรแรดของภูมิภาคต่างๆ อยู่ในระดับที่คงที่
แต่การดำเนินมาตรการอนุรักษ์นอกถิ่นอาศัย(ex situ) เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ก็ยังคงมีความสำคัญและต้องดำเนินการต่อไป อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการให้การศึกษาแก่สาธารณะชนปลูกฝังถึงความสำคัญของชนิดพันธุ์และการป้องกันถิ่นอาศัย การอนุรักษ์เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของประชากรสัตว์ได้ด้วยตนเองนั้นมีความจำเป็นต้องเพิ่มระดับของอัตราการขยายพันธุ์ พร้อมกันนี้ต้องลดอัตราการตายลง แต่การเพาะเลี้ยงเพื่อให้ขยายพันธุ์ได้ในกรงเลี้ยงนั้นเป็นเรื่องที่ทำให้ประสบความสำเร็จได้ยาก ลำดับความสำคัญขั้นสูงของการที่จะทำความเข้าใจสถานภาพของการสืบพันธุ์ในสัตว์ที่อยู่ในสภาพของการเพาะเลี้ยงและปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อความสมบูรณ์พันธุ์นั้นคือการทำความเข้าใจถึงฮอร์โมน ฮอร์โมนคือปัจจัยในการขับเคลื่อนสู่กระบวนการสืบพันธุ์และรูปแบบของการหลั่งฮอร์โมนต่างๆ สามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัดสภาวะสภาพของการสืบพันธุ์ได้(Janine et al., 2002) ข้อสังเกตที่ถือเป็นความก้าวหน้าดังกล่าวได้ถูกดำเนินการขึ้นด้วยการศึกษาถึงรูปแบบการทำงานของรังไข่(ovarian function)ซึ่งการศึกษาครั้งแรกๆ คือการวิเคราะห์ปริมาณ progestogen metabolites ที่ถูกขับถ่ายออกมาในแรดดำเพศเมียของแอฟริกา(Schwarzenberger et al., 1998) โดยการศึกษาแบบไม่ทำการจับบังคับหรือรบกวนตัวสัตว์ (Noninvasive methods) โดยการตรวจวัดปริมาณของสเตียรอยด์ฮอร์โมนในตัวอย่างมูลสัตว์นั้นเป็นวิธีการหนึ่งที่มีความเหมาะสมสำหรับสัตว์ที่อยู่ในสภาพของการเพาะเลี้ยง (Rupert et al., 2005)โดยขั้นแรกของการศึกษาที่ได้ดำเนินการนั้นเกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบปริมาณฮอร์โมนเพศที่ถูกขับถ่ายออกมา(gonadal steroid metabolites)ของสัตว์แต่ละตัวที่อยู่ในกลุ่มประชากรของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว
เอกสารแนบ |
ดาวน์โหลด |
เอกสารแนบ | คลิก |