การศึกษารูปแบบและโครงสร้างของเส้นขนเพื่อใช้ในการจำแนกอนุกรมวิธานของสัตว์วงศ์กวางและกระจงในประเทศไทย

          การนำลักษณะโครงสร้างของเส้นขนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมาเป็นลักษณะทางอนุกรมวิธานเพื่อการจำแนกกลุ่มสัตว์นั้น ได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง โดยใช้ลักษณะโครงสร้างต่างๆมาประกอบกัน ซึ่งในประเทศไทยมีการศึกษาลักษณะสัณฐานของเส้นขนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายกลุ่มด้วยกัน เช่น เสือ และแมวป่า พบว่าการใช้ลายเปลือกขนสามารถจำแนกชนิดสัตว์กลุ่มนี้ออกจากกันได้
 
          ส่วนชนิดสัตว์ที่มีลายเปลือกขนคล้ายคลึงกัน เมื่อใช้ลักษณะของแกนขนมาประกอบการพิจารณาก็ทำให้แยกชนิดได้ ในสัตว์กีบคู่บางชนิดที่พบในประเทศไทยยังใช้ลักษณะลายเปลือกขน แกนขน และหน้าตัดเส้นขนในการจำแนกเพศได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบทางด้านนิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่า เช่น ซากสัตว์ หนังสัตว์ หรือชิ้นส่วนสัตว์ป่าที่มีการชำแหละ หรือการตรวจสอบชนิดเหยื่อของสัตว์ผู้ล่าโดยการวิเคราะห์มูล


เอกสารแนบ ดาวน์โหลด
เอกสารแนบ คลิก