ลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกับนกปากห่าง แต่บริเวณช่วงไหล่จะเป็นสีขาวปากสีเหลือง โดยตอนปลายเป็นสีขาว รูปร่างของปากเหมือนปากนกกาบบัว นั่นคือปากเรียว ปลายปากกลม และโค้งลงเล็กน้อย ขาสีเทา ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ปากจะเป็นสีเหลืองเข้ม ผิวหนังบริเวณใบหน้าเป็นสีแดง ขาสีแดงเข้ม ตัวไม่เต็มวัยหัวและคอสีน้ำตาล ด้านบนลำตัวสีน้ำตาลแกมเทา ตะโพกและขนคลุมบนหางสีขาว ขนปีกสีดำ อกสีออกเทา ด้านล่างลำตัวส่วนที่เหลือเป็นสีขาว ขนคลุมขนปีกสีน้ำตาลเข้มและขาวตัดกับสีของขนปีกสีดำ
มีถิ่นกำเนิดในเกาะสุมาตรา และเกาะชวา ในประเทศอินโดนีเซีย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบใน มาเลเซีย ไทย กัมพูชา และเวียดนาม
ปลา และสัตว์น้ำอื่นๆ เช่น ปู หอย กบ เขียด รวมทั้งงูบางชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำ และแมลงต่างๆ
ปกติพบเป็นคู่หรือฝูงเล็กๆ แต่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะปรากฎเป็นฝูงใหญ่มาก โดยเฉพาะบริเวณที่ทำรัง หรือบริเวณแหล่งหากิน อังได้แก่ แหล่งน้ำต่างๆ เช่น บึง ทะเลสาบ และอ่างเก็บน้ำ เป็นนกที่บินได้ดีเช่นเดียวกับนกกระสา หรือนกอื่นๆ ในวงศ์เดียวกันนี้ ลักษณะการบินก็ไม่แตกต่างกัน
สิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์
CLASS : Aves
ORDER : Ciconiiformes
FAMILY : Ciconiidae
GENUS : Mycteria
SPECIES : Milky Stork (Mycteria cinerea)
สถานะภาพทางการอนุรักษ์ : สิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์
ยังไม่พบหารทำรังวางไข่ของนกกระสาปากเหลืองในประเทศไทย แต่จากการสังเกตการทำรังวางไข่ของนกชนิดนี้ในภาคตะวันออกของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย พบทำรังวางไข่ร่วมกับนกอื่นๆ หลายชนิด เช่น นกยางโทนใหญ่ นกกาน้ำเล็ก และนกอ้ายงั่ว โดยทำรังแบบง่ายๆ ตามง่ามของต้นไม้ใหญ่ในระดับที่สูงมาก ในแต่ละรังมีไข่ 2-4 ฟอง ไข่สีขาว ไม่มีจุดหรือลายใดๆ
เป็นนกที่มีขนาดใหญ่มาก (95 ซม.)
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 26 เมษายน 2564