ลักษณะทั่วไปไม่แตกต่างจากนกปรอดสีไพลใหญ่ แต่สีสันโดยทั่วไปจะจางกว่า ขนคลุมหูมีสีขาวแกมเทาชัดเจน ตาสีเทา มีลายขีดสีขาวบริเวณหู และมักจะเด่นชัดกว่า ปีกสีเขรยว ขนคลุมโคนหางด้านล่างสีเหลืองอ่อน
ป่าเบญจพรรณ ป่ารุ่น ป่าละเมาะ สวนผลไม้ พื้นที่เกษตรกรรมต่างๆ ในหมู่บ้าน และเมืองในระดับต่ำ จนกระทั่งเชิงเขา นกประจำถิ่น พบบ่อยมาก
ผลไม้ต่างๆ เช่น ไทร หว้าชมพู่ มะละกอ มะม่วง ผลตำลึงสุก แมลง หนอน
เสียงร้อง “กรอด-กรอด” มักพบเป็นคู่หรือฝูงเล็กๆ หากินตามต้นผลไม้ ไม้พุ่ม และลงมายังพื้นดินเป็นครั้งคราว มักเกาะในบริเวณที่เป็นที่โล่ง ในช่วงกลางวันที่อากาศร้อนจะหลบตามพุ่มไม้
สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อน หรือระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ทำรังเป็นรูปถ้วย ทำรังตามต้นไม้หลายชนิด โดยเฉพาะไม้ผล เช่น ขนุน กระท้อน ชมพู่ มะม่วง ช่อย รังอยู่สูงจากพื้นดิน 2.5-4.5 เมตร แต่ละรังมีไข่ 2-3 ฟอง
เป็นนกขนาดเล็ก (20 ซม.)
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 29 เมษายน 2564