นกเอี้ยงสาลิกา/Common Myna (Acridotheres tristis)

สิ่งที่น่าสนใจ :

ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ด้านบนลำตัวมีสีน้ำตาล หัวและคอสีดำ อกและท้องมีสีน้ำตาลยกเว้นตรงกลางท้องมีสีอ่อนกว่าบริเวณอื่น ขนคลุมใต้คางสีขาว ปีกสีน้ำตาลแซมดำและขาว ปากและเนื้อบริเวณตาสีเหลือง

ถิ่นอาศัย :

พบในทวีปเอเซียแถบประเทศอัฟกานิสถาน จีน พม่า อินโดจีน ในประเทศไทยพบอยู่ทั่วทุกภาค สามารถปรับตัวอยู่ในที่ที่มีคนอยู่ หรือในเมืองได้ รวมถึงพื้นที่ทางการเกษตร

อาหาร :

อาหารของนกชนิดนี้ แมลง หนอน เมล็ดพืช

พฤติกรรม :

อาศัยอยู่ตามชายทุ่ง เรือกสวน ไร่นาใกล้หมู่บ้าน อาจอยู่เป็นคู่หรือรวมฝูง ชอบลงมาหากินอยู่ตามพื้นดิน ขณะหาอาหารมักส่งเสียงร้องไปด้วย

สถานภาพปัจจุบัน :

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2562

วัยเจริญพันธุ์ :

นกเอี้ยงสาลิกาเริ่มผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ทำรังตามชายคาบ้านเรือนหรือตามต้นไม้ด้วยกิ่งไม้ ใบหญ้าแห้ง วางไข่ ครั้งละ 2 - 4 ฟอง

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

a