พญาแร้งเป็นนกขนาดใหญ่ ขนาดลำตัวประมาณ 80 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่หัว คอ และเท้ามีสีแดง ขนตามลำตัวสีดำ ขนที่หน้าอกและโคนขามีสีขาว ที่คอมีสีขาวขึ้นโดยรอบมองดูคล้ายสวมพวงมาลัย ตัวที่ยังไม่โตเต็มที่ ขนบริเวณหัวและอกมีสีขาว ปีกสีน้ำตาล ลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันระหว่างเพศผู้และเพศเมีย คือ เพศผู้ม่านตาสีเหลือง ส่วนเพศเมียจะมีม่านตาสีดำไปจนถึงสีแดงหม่น
พบในทวีปเอเชียแถบประเทศอินเดีย จีน พม่า อินโดจีน ปัจจุบันประชากรพญาแร้งในธรรมชาติของไทยได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ปัจจุบันองค์การสวนสัตว์แห้งประเทศไทยสามารถเพาะขยายพันธุ์จนได้ลูกพญาแร้ง 2 ตัว
โดยบิน ร่อน มองหาเหยื่อกบนท้แงฟ้า เมื่อพบจึงบินลงมากินซากสัตว์ที่ตายบนพื้นดิน
ไม่ค่อยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ หากินอยู่ตามที่โล่งแจ้ง โดยบินร่อนเป็นวงกลมบนท้องฟ้าระดับสูง มีสายตาไว สามารถร่อนกลางอากาศอยู่นานนับชั่วโมง โดยไม่ต้องกระพือปีกเลย
1. สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 2. อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง Critically Endangered (CR) จากการประเมินสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ International Union for Conservation of Nature (IUCN) หรือ IUCN Red List และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
CLASS : Aves
ORDER : Accipitriformes
FAMILY : Accipitridae
GENUS : Sarcogyps
SPECIES : Sarcogyps calvus
สถานะภาพทางการอนุรักษ์ : 1. สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 2. อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง Critically Endangered (CR) จากการประเมินสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ International Union for Conservation of Nature (IUCN) หรือ IUCN Red List และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
พญาแร้งผสมพันธุ์ในช่วงเดือนธันวาคม - เมษายน ทำรังด้วยกิ่งไม้ขัดสานกันอย่างไม่เป็นระเบียบ แล้วใช้ใบไม้รองพื้น มักทำรังอยู่บนต้นไม้ใหญ่ใกล้หมู่บ้าน วางไข่ครั้งละ 1 ฟอง ทั้งตัวผู้และตัวเมียต่างช่วยกันฟักไข่ และใช้รังเดิมวางไข่ในปีถัดไปด้วย
ขนาดลำตัวประมาณ 80 เซนติเมตร
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2567