ปากค่อนข้างใหญ่สีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเข้ม อาจมีลายแต้มสีเหลือง คอหอยและคอด้านล่างสีส้ม ลำตัวด้านล่างสีขาวแกมเทา ขาและนิ้วสีแดงสดหรือสีส้มเห็นได้ชัดเจน
พบในประเทศบรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
ผลไม้เป็นหลัก เช่น ไทร หว้า ตะขบป่า ผลของไม้เถา นอกจากนี้ยังกินกลีบดอกไม้ เช่นกุหลาบขาว กุหลาบแดง ทองหลางป่า งิ้ว และแมลง เช่น ด้วง จักจั่น แมลงเม่า ผึ้ง
อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น และป่ารุ่น พบอยู่โดดเดี่ยว เป็นคู่ หรือฝูงเล็ก ๆ ประมาณ 3 – 4 ตัว ปกติเกาะอยู่ตามใบไม้ กิ่งไม้ และลำต้นของต้นไม้สูง โดยสามารถเกาะได้ทุกแนวระดับ แต่บางครั้งก็ลงมาเกาะในระดับต่ำ หรือลงมายืนตามพื้นป่า นกจอกหัวโตร้องเสียงแหลมและสูง แต่ไม่ดังนัก
1. เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 2. เป็นนกที่อยู่ในสถานภาพ เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least Concern: LC) จากการประเมินสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2023) 3. เป็นนกที่อยู่ในสถานภาพ เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least Concern: LC) จากการประเมินสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN) หรือ IUCN Red List (2016)
CLASS : Aves
ORDER : Piciformes
FAMILY : Megalaimidae
GENUS : Caloramphus
SPECIES : Bornean Brown Barbet (Caloramphus fuliginosus)
นกชนิดนี้ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ทำรังตามโพรงบนต้นไม้ ซึ่งส่วนใหญ่ยืนต้นตาย
เป็นนกขนาดเล็ก ประมาณ 17 – 18 เซนติเมตร