มีขนาดใหญ่กว่านากใหญ่ธรรมดา มีหนวดยาว ประสาทรับความรู้สึกอยู่ที่หนวด นากชนิดนี้มีขนเรียบเป็นมัน ปลายหางแบนเห็นได้ชัด เส้นขนเหนือจมูกเป็นเส้นตรง ปาก แก้ม คอด้านล่าง และหน้าอกตอนบนมีสีขาวเหลือง ตอนบนของลำตัวสีน้ำตาลแก่ ตอนล่างหรือด้านหน้าท้องสีอ่อนกว่า อาจเป็นสีน้ำตาลหรือเทา มี หางยาวมากช่วยในการว่ายน้ำ ยาวกว่าครึ่งของลำตัวและหัวรวมกัน มือเท้าใหญ่สีซีด ระหว่างนิ้วมีพังผืดยึด และเล็บยาว แต่นิ้วที่ 3 ไม่ติดกับพังผืด
นากใหญ่ขนเรียบพบในอินเดียตอนกลาง เนปาล สิกขิม พม่า ไทย เขมร เวียดนาม มาเลเซีย สุมาตรา และบอร์เนียว อาศัยอยู่ตามแม่น้ำ ลำธารสายใหญ่ตามที่ราบ อ่างเก็บน้ำต่างๆ และป่าชายเลน
กินปลาเป็นอาหารหลัก หนูนา
นากใหญ่ขนเรียบพบตามห้วย หนอง คลอง บึง ที่ราบลุ่มมีน้ำทั่วไป และแหล่งน้ำที่มีความสูงระดับต่ำ เมื่ออยู่บนบกไม่คล่องแคล่ว ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ซึ่งประกอบด้วยพ่อ แม่ และลูก ตั้งแต่ 3 – 6 ตัว โดยนากใหญ่ขนเรียบฝูงหนึ่งต้องการใช้พื้นที่ครอบครองยาวประมาณ 7 – 12 กิโลเมตร ตามความยาวของแม่น้้า และช่วยกันจับปลาโดยไล่ปลาไปข้างหน้า นากใหญ่ขนเรียบจะต้อนปลาเป็นรูปครึ่งวงกลมไปยังที่น้ำตื้นแล้วจับปลากิน ส่วนใหญ่แล้วนากชนิดนี้จะหากินในเวลากลางวัน
15 ปี
ส่วนใหญ่จะผสมพันธุ์ตอนต้นปี ตั้งท้อง 68 วัน ลูกนากจะลืมตาได้เมื่ออายุ 10 วัน หย่านมเมื่ออายุ 3 เดือน โตเต็มที่เมื่อมีอายุได้ประมาณ 3 ปี ส่วนใหญ่จะมีลูกครั้งแรกเมื่ออายุ 4 ปี
ขนาด HB = 650 – 750 มล. T = 400 – 450 มล. HF = 100 – 140 มล. Wt = 7 – 11 กิโลกรัม ความยาวกระโหลก = 115 มิลลิเมตร
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 02 กรกฏาคม 2567