เป็นกวางขนาดกลาง ขนสีน้ำตาลเข้ม ด้านล่างลำตัวสีจางกว่า มีเส้นดำพาดตามแนวสันหลัง ตั้งแต่คอไปจนถึงโคนหาง มีเขาเฉพาะในตัวผู้ข้างละ 3 กิ่ง ผลัดเขาทุกปี ลูกเกิดใหม่มีลายจุดขาวตามตัวลายจะหายไปเมื่อโตขึ้น นัยน์ตามีน้ำตาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เป็นกวางที่สวยงามมากชนิดหนึ่ง
พบในอินเดีย เนปาล พม่า ศรีลังกา ไทย ลาวกัมพูชา เวียดนาม ในไทยปัจจุบันได้มีการนำเนื้อทรายจากสถานที่เพาะเลี้ยง ปล่อยกลับคืนสู่ป่าธรรมชาติในหลายๆพื้นที่
กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้
มักพบหากินเป็นฝูงตามป่าโปร่งหรือป่า ทุ่งหญ้าที่ราบลุ่มริมฝั่งน้ำ ปกติออกหากินในตอนเย็นถึงเช้าตรู่ เป็นสัตว์ที่ระวังภัย ตื่นตัวตลอดเวลา
ไอยูซีเอ็นประเมินประชากรของไว้อยู่ในระดับเสี่ยงสูญพันธุ์ (2551) ประเทศไทยเคยจัดเนื้อทรายไว้เป็นหนึ่งในสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปี 2503 แต่ในฉบับปี 2535 ได้ถูกตัดชื่อออกไปเนื่องจากสามารถเพาะพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก
มีสองชนิดย่อยคือ A. p. porcinus พบกระจายพันธุ์ใน ปากีสถาน จนถึงประเทศเมียนมาร์ ซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อย A. p. annamiticus ที่พบในประเทศไทย กัมพูชาและเวียดนาม
CLASS : Mammalia
ORDER : Cetartiodactyla
FAMILY : Cervidae
GENUS : Axis
SPECIES : Axis porcinus
สถานะภาพทางการอนุรักษ์ : สัตว์ป่าคุ้มครอง
มากกว่า 20 ปี
เนื้อทรายตัวผู้ไม่ได้สร้างฮาเร็มเหมือนกับกวางส่วนใหญ่ เนื้อทรายเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว
ความยาวหัวและลำตัว 105- 115 เซนติมตร ความสูงระดับไหล่ 60 - 70 เซนติเมตร น้ำหนัก 30-50 กิโลกรัม เฉลี่ยตัวเต็มวัยเพศผู้ 43 กิโลกรัม เพศเมีย 32 กิโลกรัม
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 13 มีนาคม 2566