นกกระจอกเทศ/Common Ostrich (Struthio camelus)

สิ่งที่น่าสนใจ :

มีปีกเล็กบินไม่ได้ แต่ขาใหญ่แข็งแรง มีนิ้วเท้าข้างละ 2 นิ้ว วิ่งเร็วได้ถึง 64 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง ตัวผู้ขนทั่วตัวสีดำ แต่ขนพวงปลายปีกหางเป็นสีขาว ตัวเมียขนสีน้ำตาลคล้ำ

ถิ่นอาศัย :

พบในประเทศแอลจีเรีย แองโกลา บอตสวานา บูร์กินาฟาโซ แคเมอรูน สาธารณรัฐอัฟริกากลาง ชาด จิบูตี อียิปต์ เอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา มาลี มอริเตเนีย โมซัมบิก นามิเบีย ไนเจอร์ ไนจีเรีย เซเนกัล แอฟริกาใต้ ซูดานใต้ ซูดาน แทนซาเนีย ยูกันดา แซมเบีย และซิมบับเว บริเวณที่เป็นทุ่งหญ้าสะวันนา

อาหาร :

อาหารได้แก่ แมลง หญ้า ใบไม้ ผลไม้บางชนิดและเมล็ดพืช

พฤติกรรม :

หากินในทุ่งกว้างรวมกันเป็นกลุ่ม อยู่ร่วมกับฝูงม้าลายและยีราฟ เพื่อคอยดักกินแมลงและสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ ที่ตื่นตกใจจากการกินหญ้าของสัตว์เหล่านั้น ป้องกันตัวโดยใช้เท้าเตะ เป็นนกที่มีการระแวดระวังภัยมาก ทำให้หลบหลีกพวกสัตว์กินเนื้อได้ดี

สถานภาพปัจจุบัน :

1. เป็นนกที่อยู่ในสถานภาพ เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least Concern: LC) จากการประเมินสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ International Union for Conservation of Nature (IUCN) หรือ IUCN Red List (2018) 2. เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าใน บัญชีหมายเลข 2 ที่ยังไม่ถึงกับใกล้จะสูญพันธุ์ จึงยังอนุญาตให้ค้าได้ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดใกล้จะสูญพันธุ์ โดยประเทศที่จะส่งออกต้องออกหนังสืออนุญาตให้ส่งออกและรับรองว่าการส่งออกแต่ละครั้งจะไม่กระทบกระเทือนต่อการดำรงอยู่ของชนิดพันธุ์นั้น ๆ ในธรรมชาติ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora: CITES) เฉพาะประชากรของประเทศแอลจีเรีย บูร์กินาฟาโซ แคเมอรูน สาธารณรัฐอัฟริกากลาง ชาด มาลี มอริเตเนีย โมร็อกโก ไนเจอร์ ไนจีเรีย เซเนกัล และซูดาน

อนุกรมวิธาน

CLASS : Aves

ORDER : Struthioniformes

FAMILY : Struthionidae

GENUS : Struthio

SPECIES : Common Ostrich (Struthio camelus)

สถานะภาพทางการอนุรักษ์ : สูญพันธุ์จากประเทศลิเบีย

วัยเจริญพันธุ์ :

นกกระจอกเทศตัวผู้ตัวหนึ่งคุมตัวเมียได้หลายตัว ตัวเมียจะออกไข่ในที่เดียวกันประมาณ 30 – 40 ฟอง หรือมากกว่า ไข่นกกระจอกเทศใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาด 6 – 8 นิ้ว หนักกว่า 1 กิโลกรัม ฟักไข่นาน 6 สัปดาห์ โดยตัวเมียจะฟักไข่ตอนกลางวัน และตัวผู้จะฟักไข่ตอนกลางคืน ลูกนกโตเร็วมาก และโตเต็มที่เมื่ออายุ 3 – 4 ปี

ขนาดและน้ำหนัก :

เป็นนกใหญ่ที่สุดในโลก มีความสูงเฉลี่ย 2.5 เมตร หนักถึง 160 กิโลกรัม

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 25 กรกฏาคม 2567

a